วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ปางสิบเอ็ดเศียรพันหัตถ์และพันเนตร


พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา
ซึ่งที่ทิเบตเรียกนามท่านว่า พระเชนเรซิก
ที่เห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นปางที่มีอานุภาพมากที่สุด โดยมีสิบพักตร์ พันหัตถ์ และพันเนตร
ในคำสวดบูชาเป็นภาษาทิเบตที่ใช้สวดบูชาท่าน มีข้อความแปลได้ว่า
"พระอวโลกิเตศวรผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้มีพันหัตถ์แห่งพระจักรพรรดิพันพระองค์
ผู้มีพันเนตรแห่งพระพุทธเจ้าพันพระองค์
และผู้ปรากฏเป็นร่างใดก็ได้ที่เหมาะสมในอันที่จะฝึกอบรมบุคคลนั้นๆ"

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ปาง 4 หัตถ์



พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ปาง 4 หัตถ์
หัตถ์คู่แรกกุมแก้วจินดามณีจักร อันหมายถึงการตรัสรู้
หัตถ์คู่ที่สอง หัตถ์ข้างซ้ายถือดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์แห่งร่างกาย ซึ่งเหมือนกับดอกบัวที่แม้เกิดในโคลนตมในสระแต่ก็บริสุทธิ์สะอาดปราศจากการแปดเปลื้อนมัวหมอง หัตถ์ข้างขวาถือพวงลูกประคำแก้วอันหมายถึงว่าท่านสามารถช่วยให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิดได้

ความหมายของคำว่า อวโลกิเตศวร

ความหมายชองคำว่า อวโลกิเตศวร



อวโลกิเตศวร เป็นภาษาสันสกฤต เขียนด้วยอักษรโรมันว่า  Avalokiteśvara  แปลตามตัวอักษรว่า  ผู้เป็นใหญ่ซึ่งมองจากเบื้องบนลงมาเบื้องล่าง  เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยกรุณาธิคุณแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอวโลกิเตศวร เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานมาก ยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์องค์อื่น


พระนามเดิมของพระโพธิสัตว์องค์นี้ คือ อวโลกิเตศวร  ในภาษาจีนนามของพระอวโลกิเตศวร เรียกว่า กวนซียิน ปูสะ(Guānshìyīn Púsà)  ซึ่งก็คือคำแปลของพระนามเดิมของ อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั่นเอง  พระโพธิสัตว์องค์นี้ ถูกพรรณนาว่าเป็นผู้มีสองเพศ คือเป็นทั้งที่มีเพศหญิงและเพศชาย  และในบางแห่งก็มีการระบุแต่เพียงว่า  กวนยิน (Guānyīn)หรือ กวนอิม


ในภาษาสันสกฤต พระอวโลกิเตศวร  ยังถูกระบุว่า เป็น  ปัทมปาณี (ผู้ถือดอกบัว)  หรือ  โลเกศวร (ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก) ในภาษาทิเบต พระอวโลกิเตศวร มีชื่อว่า  Chenrezig (เชนเรซิก) และก็ยังกล่าวกันด้วยว่า  พระอวโลกิเตศวรได้อวตารลงมาเกิดเป็น องค์ดาไลลามะ  พระกัมมาปะ และพระลามะระดับอาวุโสองค์อื่นๆด้วย


ในทางอักษรศาสตร์นั้นั้น พระนาม อวโลกิเตศวร  ประกอบด้วยศัพท์ต่างๆที่มาสมาสและสนธิกัน  คือ คำว่า อวะ แปลว่า ลง โลกิตะ เป็นกริยา แปลว่า มองดู และ อิศวร แปลว่า  ผู้เป็นใหญ่ เมื่อรวมทั้งสามศัพท์เข้าด้วยกัน คือ อว+โลกิต+อิศวร ก็แปลได้ความว่า ผู้เป็นใหญ่ผู้มองลงมา (ที่โลก)  คำว่า โลก ไม่มีในศัพท์แต่ใส่เข้ามาเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริง
]

แต่เดิมมีความคิดกันว่า  ชาวจีนแปลคำว่า อวโลกิเตศวร ผิดไปเป็น อวโลกิตสวร ซึ่งก็เป็นเหตุให้ท่านหลวงจีน Zuangzang แปลคำนี้ว่า Guanzizai(กวนซีไซ) แทนที่จะแปลว่า  Guangin(กวนยิน)  อย่างไรก็ดี จากหลักฐานการค้นคว้าเมื่อเร็วๆนี้พบว่า  ศัพท์ดั้งเดิมของคำนี้ก็คือ อวโลกิตสวร คือที่ลงท้ายด้วย สวร  (แปลว่า เสียง) ซึ่งมีความหมายว่า ผู้รับเสียง หรือแปลตามตัวอักษรว่า  ท่านผู้มองลงมายังเสียง(คือ เสียงร้องของสรรพสัตว์ผู้ต้องการความช่วยเหลือ) ข้อนี้จึงเป็นที่มาของคำแปลของจีนว่า  กวนยิน  รวมทั้งคำแปลของนักปราชญ์จีนอีกหลายท่าน รวมทั้งท่านกุมารชีวะนักปราชญ์ย่านเอเชียกลาง ที่ใช้คำว่า  กวนซียิน (Guānshìyīn) อันมีความหมายว่า ผู้รับรู้การร้องทุกข์ของโลก คำว่า โลก นี้มีความหมายได้ทั้งว่า  มอง และว่า โลก ชื่อของพระโพธิสัตว์องค์นี้ถูกเปลี่ยนในกาลต่อมาให้มีคำลงท้ายด้วย อิศวร ซึ่งคำนี้ไม่มีในภาษาสันสกฤตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7  แต่ทว่าคำว่า อวโลกิตาสวร  มีอยู่ในภาษาสันสกฤตมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5

ความหมายดั้งเดิมของนามพระโพธิสัตว์องค์นี้  บ่งบอกถึงบทบาทของท่านได้เป็นอย่างดี  การที่มีการตีความชื่อของท่านเสียใหม่โดยบอกว่ามีคำลงท้ายว่า อิศวร  นั้นก็ส่อแสดงว่าคำนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิไศวะของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู  เพราะคำว่า อิศวร นี้ปกติจะมีความหมายเชื่อมโยงถึง พระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและผู้ปกครองโลก  คนก็เลยถ่ายทอดคุณสมบัติของพระศิวะมาไว้ในตัวของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  แต่สำหรับชาวพุทธผู้ที่เคารพนับถือพระอวโลกิเตศวร ต่างปฏิเสธหลักการเรื่องเทพเจ้าผู้สร้างโลกเพราะเป็นหลักการของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมิใช่หลัการของศาสนาพุทธ


ในทางอักษรศาสตร์อีกเช่นเดียวกัน ชื่อในภาษาทิเบตของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้ คือ  เชนเรซิก (Chenrezig) ซึ่งแยกศัพท์เป็น  chen(เชน)  แปลว่า ตา (eye) re แปลว่า ความต่อเนื่อง (continuity) zig แปลว่า  มองดู (to look) ซึ่งก็ให้ความหมายว่า บุคคลผู้ปกติมองมายังสรรพสัตว์(ด้วยดวงตาแห่งความกรุณา)

กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร

กำเนิดของพระอวโลกิเตศวร


 

ตามหลักการของศาสนาพุทธนิกายมหายานนั้น บอกว่า พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์ที่ตั้งสัจปฏิญาณว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่สรรพสัตว์ในเวลาประสบความเดือดร้อน  และท่านจะยังไม่มอมบรรลุถึงพุทธภาวะจนกว่าท่านจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทุกคนทุกท่านในโลกได้เข้าสู่นิพพานแล้วทั้งหมด ในมหายานสูตรต่างๆในส่วนที่เกี่ยวกับพระอวโลกิเตศวร นั้นมีหลายสูตรด้วยกัน ตัวอย่างเช่น สัทธรรมปุณฑริกสูตร, การัณฑวยูหสูตร, ปรัชญาปารมิตาหรทยสูตร, มหากรุณาธารณีสูตร, อวโลกิเตศวรเอกาทศมุขสูตร, จุนทีธารณีสูตร เป็นต้น


สัทธรรมปุณฑริกสูตร (สูตรดอกบัว) ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นคำสอนในช่วงแรกๆที่กล่าวถึงพระอวโลกิเตศวร  ทั้งนี้โดยปรากฎอยู่ในบทที่ 25 ของสูตรนี้ โดยได้กล่าวถึง สากลมหามรรคาอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เอาไว้ ในบทนี้ทั้งบทพูดถึงพระอวโลกิเตศวรว่า เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีกรุณาธิคุณเป็นอย่างมาก จะคอยฟังเสียงร่ำร้องของสรรพสัตว์และจะทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เอ่ยนามของท่านอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ท่านมีกายนิมิตถึง 33 กาย รวมทั้งกายที่เป็นเพศหญิงด้วย ที่ท่านมีหลายกายเช่นนี้ก็ด้วยต้องการจะให้เป็นไปตามความคิดของมวลมนุษย์แต่ละคนละพวก สัทธรรมปุณฑริกสูตร มีข้อความทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ข้อความจากพระสูตรนี้ได้ถูกแยกออกมาเป็นอีกสูตรหนึ่งต่างหาก เรียกว่า อวโลกิเตศวรสูตร และใช้สวดตามวัดวาอารามของฝ่ายมหายานต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออก


ในพุทธศาสนาตามรูปแบบของจีน มีการนิยมนับถือ พระอวโลกิเตศวรปาง 18 กร ซึ่งเรียกกันว่า  จุนที  กันมาก  เป็นการนับถือที่สืบสานกันมาตั้งแต่ยุคพุทธศาสนาในตอนต้นๆของอินเดีย  พระจุนทีนี้ อ้างว่าคือ  จุนทีพุทธมารดา  หรือ จุนทีภควตี   จากความนิยมเรื่องจุนทีนี้เองจึงได้มีการแปล จุนทีธารณีสูตร จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในช่วงปลายของจักรวรรติจีน  พระสูตรแปลเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่ของประชาชนชาวจีน   ซึ่งปราชญ์ตะวันตกชื่อRobert Gimello ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า  พวกที่นิยมจุนทีธารณีสูตรและปฏิบัติตามหลักจุนทีมีทั้งราษฎรธรรมดาและพวกขุนนาง


ในนิกายเทียนไต (Tiantai school) ระบุว่า พระอวโลกิเตศวรมีอยู่ 6 ร่างด้วยกัน  และแต่ละร่างของท่านก็มีคุณสมบัติเป็นไปตามความเหมาะสมที่ท่านจะใช้ฝันฝ่าอุปสรรคเข้าไปโปรดสรรพสัตว์ในภพภูมิทั้ง 6 คือ นรกภูมิ, เปรตภูมิ,  ดิรัจฉานภูมิ, มนุษยภูมิ, อสุรภูมิ และเทวภูมิ  คุณสมบัติดังกล่าวได้แก่ 1.ความกรุณาอันยิ่งใหญ่ 2.ความเมตตาอันยิ่งใหญ่ 3.ความกล้าหาญดุจราชสีห์ 4.ความมีแสงสว่างอันเป็นสากล 5.ความเป็นผู้นำของเทวดาและมนุษย์ และ 6.ความเป็นพราหมณ์ผู้เป็นสยัมภูผู้ยิ่งใหญ่


ในทิเบตโบราณ พระอวโลกิเตศวร มีที่มาจาก 2 แหล่งด้วยกัน   แหล่งที่ 1 คือความเชื่อว่าในกัปก่อนมีพระภิกษุรูปหนึ่งมีความกรุณาต่อสรรพสัตว์มากและเมื่อมาถึงกัปปัจจุบันพระรูปนี้ได้อวตารลงมาเป็นพระอวโลกิเตศวร  แหล่งที่มาประการที่ 2 คือความเชื่อว่า พระอวโลกิเตศวรเป็นองค์อวตารของผู้มีความกรุณาอันยิ่งใหญ่  เป็นพระโพธิสัตว์ที่เป็นเทวดาอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อทำหน้าที่นำความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับพระอวโลกิเตศวรมาบอกกล่าวแก่มวลมนุษย์


พระอวโลกิเตศวรของทิเบตมีปางต่างๆ 7 ปาง คือ
1.อโมฆปาสะ แปลว่า  ปางผู้มีบ่วงไม่ว่างเปล่า
2. วรสหัสรภุชโลจนะ  หรือ สหัสภุชสหัสเนตร  แปลว่า ปางผู้มีพันหัตถ์ และพันเนตร
3.หยะครีวะ แปลว่า ปาง ผู้มีเศียรเป็นม้า
4.เอกาทสทุกขะ แปลว่า  ปางผู้มี 16 พักตร์
5. จุนที  แปลว่า ปางผู้เป็นเทพธิดานามว่าจุนที
6. จินตามณีจักระ แปลว่า ปางผู้มีจินตามณีจักร
7.อารยโลกิเตศวร แปลว่า  ปางผู้เป็นใหญ่ผู้ประประเสริฐที่คอยสอดส่องดูแลโลก



แม้ว่าพุทธศาสนิกชนของฝ่ายหีนยานหรือฝ่ายเถรวาท จะมิได้ให้ความเคารพนับถือพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่งของฝ่ายมหายาน  แต่ก็ปรากฏว่า พระอวโลกิเตศวรได้รับความเคารพบูชาในหมู่ชาวพุทธในพม่า โดยเรียกท่านว่า พระโลกนาถ  ส่วนในประเทศไทยก็มีผู้นับถือท่านในหมู่ศาสนิกชนไทยฝ่ายมหายานตามวัดจีนและวัดญวนโดยเรียกท่านว่า โลเกศวร บ้าง  เรียกว่าพระโลกนาถ บ้าง


พวกปราชญ์ฝ่ายตะวันตกยังตกลงกันไม่ได้ว่าอะไรคือต้นกำเนิดของความเชื่อในเรื่องพระอวโลกิเตศวร บางพวกบอกว่า เรื่องพระอวโลกิเตศวรและพระโพธิสัตว์ผู้มึคุณสมบัติพิเศษเหนือมนุษย์เหล่านี้ พวกนับถือพุทธศาสนานิกายมหายานยืมมาจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้าของชาวฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเรื่อง เทพเจ้าพระนามว่า พระอิศวร หรือพระวิษณุนั่นเอง


ข้างนักปราญช์ชาวญี่ปุนชื่อ Shu Hikosaka ได้ศึกษาคัมภีร์พุทธศาสนาที่เป็นภาษาทมิฬโบราณของประเทศอินเดียตอนใต้ และก็ทำการสำรวจไปพร้อมๆกันนั้นด้วย ได้ตั้งเป็นข้อสมมติฐานว่า ภูเขาโบราณที่ชื่อ โปตลกะ (Potalaka) อันเป็นที่พำนักของพระอวโลกิเตศวรตามที่ระบุในคัมภีร์คันทวยุหสูตร และในบันทึกของหลวงจีน Zuangzang นั้น  ที่จริงแล้วก็คือภูเขา โปติไก หรือ โปติยิล  Potiyil หรือ Potalaka  ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ Ambasamudram ในตำบล Tirunelvedi ของรัฐทมิฬนาฑู นักปราชญ์ญี่ปุ่นท่านนี้ก็ยังกล่าวด้วยว่า  ภูขา Potiyil หรือ Potalaka ภูเขา นี้ปัจจุบันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนในแถบภาคใต้ของอินเดียตั้งแต่ครั้งโบราณมาจนถึงปัจจุบัน  เมื่อตอนที่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปสู่ดินแดนในแถบนี้ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาลนั้น ภูเขาที่ว่านี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวพุทธซึ่งกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของดินแดนแถบนี้และที่นี่ก็ยังมีพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมาพำนักจำพรรษาอยู่ด้วย  แต่คนในท้องถิ่นนเดิมที่ยังนับถือศาสนาฮินดูก็ยังมีอยู่ที่นี่อยู่ต่อไป  ต่อมาก็จึงเกิดการผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นเรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรขึ้นมา


ในพุทธศาสนานิกานเถรวาท  พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า คือ โลกนาถ ซึ่งแปลว่า  ผู้เป็นที่พึ่งของโลก ก็เป็นไปได้ว่าเป็นการพัฒนามาจากแนวความคิดในเรื่องพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ เพราะทั้งสามองค์ก็ได้ชื่อว่าโลกนาถเหมือนกัน ในแถบอินโดจีน ก็มีรูปของพระอวโลกิเตศวรที่มีรูปร่างเป็นเพศชายอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ที่นครวัตของกัมพูชา เป็นต้น

มนต์และธารณีบูชาพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

มนต์และธารณีบูชาพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์


 
ที่ประเทศสิงคโปร์  พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานก็กล่าวถึง พระอวโลกิเตศวร โดยเชื่อมกับมนต์คาถาที่เป็นอักษรหกพยาค์คือ โอม มณิ ปัทเม หูม

และด้วยเหตุที่พระอวโลกิเตศวรมีความเชื่อมโยงกับมนต์หกพยางค์นี้เอง พุทธศาสนาในทิเบต จึงเรียกพระอวโลกิเตศวรอีกอย่างหนึ่งว่า ศทักษรี(Shadakshari) ซึงมีความหมาว่า พระผู้มีหกตัวอักษร  การสาธยายมนต์บทนี้พร้อมไปกับนับลูกประคำเป็นหลักปฏิบัติที่นิยมทำกันมากในทิเบต  ความเชื่อมโยงระหว่างมนต์ 6 พยางค์และพระอวโลกิเตศวรปรากฏเป็นครั้งแรกในการัณฑวยุหสูตร ซึ่งพระสูตรนี้แต่งขึ้นในช่วงระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5  ในพระสูตรนี้บอกว่า พระพุทธเจ้าตรัสกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรว่าการสวดมนต์หกพยางค์ดังกล่าวขณะเพ่งจิตไปทีเสียงจะนำไปสู่การบรรลุสมาธิแปดร้อย และการัณฑวยุหสูตรก็ยังกล่าวถึงการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของจุนทีธารณีไว้ในตอนท้ายของพระสูตรด้วย หลังจากที่พระโพธิสัตว์บรรลุสมาธิด้วยมนต์หกพยางค์ คือ โอม มณิ ปัทเม หูม นี้แล้ว ท่านก็จึงสามารถติดต่อกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำนวน 77 โกฏิพระองค์ด้วยบทมนต์คือจุนทีธารณี

พระอวโลกิเตศวรพันหัตถ์และพันเนตร

พระอวโลกิเตศวรพันหัตถ์และพันเนตร


ในตำนานพุทธศาสนาฝ่ายมหายานบอกว่า พระอวโลกิเตศวร ได้ตั้งสัจปฏิญาณว่า ท่านจะไม่ยอมหยุดพักจนกว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจะพ้นจากสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดไปจนหมดแล้ว  แม้ว่าท่านจะพยายามที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว แต่ท่านก็ตระหนักว่ายังคงมีผู้คนและสรรพสัตว์อีกเป็นจำนวนมากที่ยังมีความทุกข์ที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากท่านอยู่ต่อไป  หลังจากที่ท่านได้เพียรพยายามอย่างหนักที่จะสนองตอบต่อความต้องการของมวลมนุษย์และมวลสรรพสัตว์เป็นจำนวนมาก ศีรษะของท่านก็ได้แตกออกเป็นสิบเอ็ดเสี่ยง  พระอมิตาพุทธเห็นความลำบากและความมุมานะของท่านก็เลยประทานศีรษะให้แก่ท่าน 7 ศีรษะด้วยกัน ซึ่งก็จะได้ใช้ศีรษะเหล่านี้ฟังเสียงร้องทุกข์แสดงถึงความเดือดร้อนของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวงได้  ครั้นเมื่อพระอวโลเกศวรได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือเหล่านั้นแล้ว  ก็ได้พยายามที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น แต่ก็ทำไม่ได้เพราะว่าแขนทั้งสองข้างของท่านได้แหลกละเอียดกระจัดกระจายไปหมดแล้ว  พระอมิตาพุทธก็จึงดำเนินการเข้ามาช่วยเหลืออีกครั้งหนึ่งด้วยการประทานมือพันมือเพื่อจะได้นำไปช่วยเหลือผู้คนและสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านั้น

ความเชื่อของชาวพุทธทิเบตเกี่ยวกับพระเชนเรซิก (Chenrezig)

ความเชื่อของชาวพุทธทิเบตเกี่ยวกับพระเชนเรซิก (Chenrezig)


พระอวโลกิเตศวร เป็นเทพที่สำคัญองค์หนึ่งในศาสนาพุทธแบบทิเบต และในคำสอนของนิกายวัชรยาน ก็ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเลยทีเดียว ในหลักคำสอนของฝ่าบมหายานนั้น พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธสัตว์อยู่ในระดับสูง องค์ดาไล ลามะ ได้รับการนับถือว่าในนิกายเคลักปะและชาวพุทธทิเบตเป็นจำนวนมากว่า ท่านเป็นองค์อวตารของพระเชนเรซิก(Chenrezig) พระกัมปกะ ได้รับการยอมรับนับถือในนิกาย กรมะกาคยุ ว่าเป็นองค์อวตารของพระเชนเรซิกในตอนต้นๆ มีการกล่าวว่าพระปัทมสัมภวะ เคยทำนายไว้ว่า พระอวโลกิเตศวรจะอวตารลงมาเป็นดาไลลามะและพระกัมปกะ อีกตำนานหนึ่งของทิเบตก็บอกว่า พระอมิตาพุทธ ได้ทรงมอบหมายภารกิจให้แก่สาวกองค์สำคัญของท่านองค์หนึ่งซึ่งมีนามว่าอวโลกิเตศวรให้มาทำหน้าที่แทนท่านในภารกิจให้ความช่วยเหลือ่ทิเบต ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงอวตารลงมาเป็นทั้งผู้นำจิตวิญญาณในทิเบตและเป็นกษัตริย์อย่างเช่นกษัตริย์ Trisong Detsen หรือเสนาบดีต่างๆ

ในตำนานพุทธศาสนาของทิเบต บอกว่า พระนางตารา (Tara) อุบัติขึ้นมาจากหยดน้ำตาเพียงหยดเดียวของพระเชนเรซิก กล่าวคือเมื่อน้ำตาหยดนั้นตกลงมาสู่พื้นดินก็เกิดเป็นทะเลสาบ และเมื่อดอกบัวดอกหนึ่งในสระแห่งนี้บานก็ปรากฏมร่างของพระนางตาราอยู่บนบัวดอกนั้น อีกตำนานหนึ่งเล่าถึงการปรากฏตัวของพระนางตาราไว้อีกแบบหนึ่งว่า พระนางมาจากหัวใจของพระเชนเรซิก  ทั้งสองตำนานบอกไว้ตรงกันว่าพระนางตารามีขึ้นมาได้ก็ด้วยความกรุณาของพระเชนเรซิก

การปรากฏร่างของพระอวโลกิเตศวรในปางต่างๆ

การปรากฏร่างของพระอวโลกิเตศวรในปางต่างๆ

พระอวโลกิเตศวร จะปรากฏร่างในหลายร่าง

แต่ร่างของท่านที่กล่าวถึงกันมากที่สุดมี 13 ร่างหรือปางดังนี้ :
1.อารยาวโลกิเตศวร  อวโลกิเตศวร ปางผู้ประเสริฐ
2.เอกาทสมุข  อวโลกิเตศซรปางมี 11 ใบหน้า
3.สหัสสภุชสหัสสเนตร  อวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร
4.จินตามณิจักระ  อวโลกิเตศวร ปางทรงจักรแก้วจินดามณี
5.หยครีวะ  อวโลกิเตศวร ปางมีเศียรเป็นม้า
6.จุนที  อวโลกิเตศวร ปางพระแม่จุนที
7.อโมฆปาสะ  อวโลกิเตศวร ปางถือบ่วงบาส
8.ภรกุฏิ  อวโลกิเตศวร ปางเนตรดุร้าย
9.ปัณฑรวาสินี  อวโลกิเตศวร ปางสวมใส่ผ้าขาวบริสุทธิ์
10.ปรณศาพรี อวโลกิเตศวร ปางห่อหุ้มด้วยใบไม้
11.รักตศทักษรี อวโลกิเตศวร ปางอักษรหกตัว 
12.เศวตภควตี อวโลกิเตศวร ปางร่างขาว
 13.อุทกศรี อวโลกิเตศวร ปางประทานน้ำมนต์